Top 20 Players

Top 20 Players! แห่งวงการ CS:GO ปี 2020 อันดับ 20-11

CSGO บทความ

นี่คือการจัดอันดับผู้เล่นที่มีผลงานดีที่สุดในโลก Top 20 Players โดย HLTV.org และเพื่อไม่ให้เสียเวลา เราจะมาเริ่มกันที่ Vincent “⁠Brehze⁠” Cayonte เป็นคนแรกของรายชื่อทั้งหมด มาครั้งนี้เขาได้อันดับที่ 20 มาครอง เขาสร้างผลงานได้อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงมี trade kill ratio สูงที่สุดอีกด้วย

20. Vincent “⁠Brehze⁠” Cayonte

เริ่มต้นบทความ Top 20 Players กับ Brehze เขาเริ่มเล่น CS:GO เมื่อปี 2014 และเข้าร่วมแข่งขันลีกย่อยกับเพื่อนๆ ก้าวแรกในวงการของเขาเริ่มที่ ESEA Open หลังจากนั้นเขาเริ่มขยับบทบาทของตัวเองในทีม Obey Alliance ซึ่งได้เล่นร่วมกับ Cory “⁠APE⁠” Bate และ Alec “⁠Slemmy⁠” White

งาน LAN ครั้งแรกของเขานั้นเกิดขึ้นที่ MLG Americas Minor Championship ในเดือนมกราคม 2016 ตัวของ Brehze เติบโตขึ้นเรื่อยๆ และได้รับประสบการณ์ในทีมมากมายตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เขาลงเล่นภายใต้ชื่อ Without a Roof และ Kaliber โดยสามารถผ่าน ESEA Premier 2 ฤดูกาล, ECS 1 รายการและรอบคัดเลือกอีกมากมาย

รวมถึงได้เข้าชิงใน ECS Season 1 Qualifier รอบชิงชนะเลิศครั้งนั้นถือเป็นครั้งแรกในอาชีพของ Brehze ขณะที่เขาพาทีมเก็บชัยชนะเหนือ Selfless ในตอนนั้นเขาถูกกล่าวหาจากโค้ช Steve “⁠Ryu⁠” Rattacasa ของทีมคู่แข่งว่า Brehze ได้มีการโกงเกิดขึ้น แต่ก็ต้องออกมาขอโทษในภายหลังเพราะไม่เป็นความจริง

ในการแข่งขัน Northern Arena 2016 – Toronto เขาสามารถพาทีมทะลุเข้ารอบตัดเชือกได้ คว้าชัยเหนือทีมสุดโหดในตอนนั้นอย่าง Heroic และ Immortals ไปอย่างเหลือเชื่อ พร้อมซัดเรตติ้งไป 1.41 แบบเน้นๆ

ส่วนตอนนี้เขาได้อยู่กับทีม Evil Geniuses พวกเขาเริ่มต้นปี 2020 ด้วย bootcamp ยาวหนึ่งเดือนในยุโรป และ BLAST Premier Spring Series ในลอนดอน มันเป็นทัวร์นาเมนต์แรกของปี ซึ่งพวกเขาไม่สามารถผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศของฤดูใบไม้ผลิได้ เนื่องจากพวกเขาจบอันดับที่สามของกลุ่ม หลังจากเก็บชัยชนะเหนือ 100 Thieves ได้และการพ่ายแพ้สองครั้งต่อ OG การเริ่มต้นอย่างช้าๆ ของ Evil Geniuses ยังคงดำเนินต่อไปในโปแลนด์

พวกเขาล้มเหลวอีกครั้งในการจะโชว์ฟอร์มที่ดีที่สุดให้เกิดขึ้นได้ ทีมเริ่มแคมเปญการแข่งขันที่ IEM Katowice งานใหญ่ประจำปี พวกเขาเริ่มด้วยชัยชนะกับ MAD Lions แต่แล้วก็พ่ายแพ้ให้กับคู่แข่งในโซนอเมริกาเหนือนั่นก็คือ Team Liquid

พวกเขาแพ้ในการแข่งขันรอบแบ่งกลุ่มรอบที่สอง ก่อนที่ทีมจะตกรอบไปสู่สายล่างในสนามแข่งที่ลอนดอนพร้อมกับ 100 Thieves และจบการแข่งขันในอันดับที่ 9-12 แม้จะมีความผิดพลาดแต่ Brehze ก็ยังคงได้รับบทบาทในการเป็นผู้นำทีมต่อไป กับชัยชนะครั้งเดียวของพวกเขาด้วยเรตติ้ง 1.48 ในซีรีส์ และออกจากโปแลนด์ด้วยเรตติ้งทีมสูงสุดอยู่ที่ 1.14

19. Justin “⁠jks⁠” Savage

อันดับต่อไปก็คือ jks หรือ Justin “⁠jks⁠” Savage เขายังคงมีการเล่นอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง กับการโชว์ฟอร์มสุดแข็งแกร่งในรอบตัดเชือกพร้อมทีม Complexity

หนุ่มมือปืนจากประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นประเทศที่แยกตัวออกจากส่วนอื่นๆ ของโลก ในหลายๆ เรื่องรวมถึงการแข่งขัน Counter-Strike เองก็ด้วย jks เริ่มเป็นที่รู้จักของผู้เล่นทั่วโลกในปี 2014 หลังจากได้รับบทบาทในทีม Vox Eminor ซึ่งเป็นทีมที่ดีที่สุดในภูมิภาคเลยก็ว่าได้

ทีมที่นำโดย Chad “⁠SPUNJ⁠” Burchill เป็นผู้ครองตลาดการแข่งขันในท้องถิ่นทั้งหมด และได้รับการคัดเลือกซ้ำหลายครั้งสำหรับการไปแข่งขันในต่างประเทศ การเข้าร่วมกับทีมนี้คือเส้นทางที่ชัดเจน และเป็นเส้นทางที่ดีที่สุดในอาชีพการเป็นโปรเพลเยอร์ CS:GO ของเด็กอายุวัยเพียง 18 ปี ณ ตอนนั้น

เจ้าหนูถูก jks โชว์ผลงานได้อย่างดีเยี่ยม การแข่งขันที่โดดเด่นเป็นครั้งแรกของเขาคือ ESL One Cologne 2014 Major ซึ่งถึงแม้ทีมของเขาจะถูก Nicolai “⁠device⁠” Reedtz’s – Dignitas และ Kenny “⁠kennyS⁠” Schrub’s – Titan ในตอนนั้นกำจัดไปอย่างรวดเร็ว

แต่ jks ก็กลายเป็นดาวเด่นของทีมเช่นกันด้วยเรตติ้ง 1.34 และในการแข่งขัน Gfinity 2015 Spring Masters 2 มาตรฐานของเขาก็ยิ่งสูงขึ้นไปอีก เขายังคงรักษาสิ่งนี้ไปอย่างต่อเนื่องและมั่นคงตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

หลังจากนั้นเขาก็ได้ไปอยู่กับ 100 Thieves แต่ทีมก็เพิ่งมาประกาศเมื่อไม่นานมานี้ว่า ไม่ได้มีแนวทางที่จะทำทีม CS:GO ต่อไปในอนาคต ตัวของเขาจึงได้มาอยู่กับทีม Complexity ซึ่งเป็นทีมในปัจจุบันนั่นเอง

jks ยอมรับข้อเสนอเพื่อเข้าร่วม Complexity โดยทิ้งการเป็นแกนหลักของทีมไว้เบื้องหลัง และแยกทางกับ Aaron “⁠AZR⁠” Ward ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมทีมของเขามาหกปี หนุ่มชาวออสเตรเลียได้รับ EVP สี่ครั้งตลอดทั้งปีนี้ และเขาก็เข้าใกล้ความสำเร็จของการแข่งขันที่ IEM Katowice ซึ่งถือเป็นทัวร์นาเมนต์ที่มีการแข่งขันสูงที่สุดแห่งปี

ใน IEM Beijing ซึ่งเป็นงานแรกของเขากับ Complexity ในขณะที่ jks ไม่ได้ค่อยเผชิญหน้ากับคู่ต่อสู้ที่มีความสามารถสูงบ่อยเท่ากับผู้เล่นคนอื่นๆ ในทีม แต่เขาก็พิสูจน์คุณภาพการเล่นในระดับหนึ่งแล้วว่าสามารถยืนระยะได้อย่างดีเยี่ยม เมื่อได้รับโอกาสแสดงฝีมือเขาทำได้ถึง 1.13 เรตติ้งจาก 20 แผนที่กับการเล่นให้ทีมอันดับ 5 ของโลก

เขาเอาชนะในแมตช์ที่สำคัญๆ ได้หลายครั้ง ทำให้เขาเอาชนะ Vincent “⁠Brehze⁠” Cayonte จนชิงอันดับที่ 19 มาได้ แต่ฟอร์มช่วงปลายปีที่แย่และการขาดอีเวนต์ระดับอีลิท ทำให้เขาไม่สามารถจบอันดับที่สูงกว่านี้ได้ เพราะปีที่แล้วเขาจบอันดับที่ 15 ของปี 2019

18. Kaike “⁠KSCERATO⁠” Cerato

ด้วยการเปรียบเทียบกันแบบรอบต่อรอบ และเปรียบเทียบแบบทัวร์นาเมนต์ต่อทัวร์นาเมนต์ทำให้ Kaike “⁠KSCERATO⁠” Cerato อยู่ในอันดับที่ 18 ในการจัดอันดับผู้เล่น 20 อันดับแรกของปี 2020

เขาได้ค้นพบหนึ่งในสิ่งที่จะเปลี่ยนชีวิตของเขาเองไปตลอดกาล นั่นก็คือ Counter-Strike ในปี 2009 เมื่อเขาและพี่ชายได้โดดเรียนกลับไปเล่นเกมที่บ้าน ซึ่งสมัยนั้นเป็นการเล่นแบบ LAN และเขาใช้เวลาหลายปีต่อมาในการไต่อันดับในบริเวณชุมชนของตัวเอง โดยเขาเล่นหลายทัวร์นาเมนต์ในบ้านเกิดที่เซาเปาโล ขณะนั้น KSCERATO มีความสนใจและเริ่มจับตาดูการแข่งขันในประเทศและต่างประเทศอย่างใกล้ชิด

เหตุการณ์ที่สร้างความโดดเด่นครั้งแรกของเขาคือการแข่ง r1seCup รุ่นแรกในปี 2015 ซึ่งทีมของเขา ได้แก่ army5 ที่มี Marcelo “⁠chelo⁠” Cespedes ได้รับความสนใจในรอบแบ่งกลุ่ม

โดยการแข่งขันครั้งนั้นมีตำนานบราซิลอย่าง Marcelo “⁠coldzera⁠” David’s ที่อยู่กับทีม Dexterity คว้าอันดับสองไปครอง รวมถึงยังมีมือ AWPer กัปตันแห่งบราซิล ⁠FalleN⁠ รวมอยู่ด้วยอีกคน ในเดือนมกราคมของปีนั้น KSCERATO ได้รับเชิญให้เข้าร่วมโครงการ เด็กฝึกของ FURIA ควบคู่ไปกับ Vinicius “⁠VINI⁠” Figueiredo โดยผู้เล่นทั้งสองคนได้รับการเลื่อนขั้นสู่ทีมหลัก เพียงไม่กี่สัปดาห์ต่อมา

FURIA เริ่มต้นปี 2020 ด้วยความผิดพลาด เนื่องจากพวกเขาไม่ผ่านคุณสมบัติสำหรับไป IEM Katowice หลังจากตกรอบคัดเลือก โดยพวกเขาต้องเอา Lucas “⁠LUCAS1⁠” Teles มาเข้าทีมด่วน เนื่องจากความล่าช้าในการต่ออายุวีซ่าของสมาชิกทีมอย่าง HEN1

ครึ่งปีแรก KSCERATO มีเรตติ้งสูงสุดเป็นอันดับสองของทีมในอนาไฮม์ คือ 1.21 และอยู่ในอันดับต้นๆ ของสกอร์บอร์ดในรอบชิงชนะเลิศโซนอเมริกาเหนือ เขาเป็นหนึ่งในผู้ที่มีอัตราการตายต่อรอบที่ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ของเกม

KSCERATO ได้รับการเสนอชื่อให้เป็น EVP ใน 7 จาก 11 ทัวร์นาเมนต์ที่ได้ลงเล่น และมีบทบาทสำคัญในความสำเร็จหลักของ FURIA อย่างที่ได้เห็นในการแข่งขัน DreamHack Masters Spring และ ESL Pro League Season 12

นอกจากนี้เขายังเป็นผู้เล่นที่มีฟอร์มร้อนแรงในรอบเพลย์ออฟ โดยมีเรตติ้งเฉลี่ย 1.14 ใน 17 แผนที่ และในขณะที่เขาไม่ได้เผชิญหน้ากับทีมที่มีความสามารถสูงระดับท็อปๆ ของโลกในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของปีเลย จากการระบาดของโรคร้าย เขาก็ยังคงมีผลงานที่ดีเมื่อเทียบสถิติกับผู้เล่นทีมเหล่านั้น

17. Freddy “⁠KRIMZ⁠” Johansson
นี่คือ Top 20 ผู้เล่นแห่งปี 2020 อันดับ 20 ถึง 11 พวกเขาจะเป็นใครบ้าง และมีสถิติตลอดทั้งปีเป็นอย่างไร จนทำให้สามารถคว้าตำแหน่ง 20 อันดับผู้เล่นแห่งปี 2020 ไปครอบครองได้

อันดับที่ 17 ของการจัดอันดับผู้เล่น 20 อันดับแรกประจำปี 2020 นั่นก็คือ Freddy “⁠KRIMZ⁠” Johansson ซึ่งติดอันดับเป็นครั้งที่ 5 แล้วใน HLTV.org Top 20 จากการเล่นโชว์ผลงานครั้งใหญ่ในช่วงต้นปี และมีฝีมืออยู่ในระดับที่สม่ำเสมอตลอด

KRIMZ ปรากฏตัวครั้งแรกในการแข่งระดับนานาชาติ ซึ่งถือเป็นช่วงแรกเริ่มการแข่งขัน Esports ในวงการ CS:GO เมื่อปี 2013 พร้อมกับ LGB พวกเขามีกลุ่มเป้าหมายที่จะทำทีมสวีเดนในเวลานั้น พร้อมกับดึงกับ Dennis “⁠dennis⁠” Edman ที่เคยสร้างชื่อให้ตัวเองใน Counter -Strike 1.6 เข้าทีม

แม้จะเป็นเพียงทีมที่ดีที่สุดอันดับสามของประเทศ โดยสองอันดับแรกก็คือ NIP และ fnatic สองทีมระดับตำนาน แต่ทีมสัญชาติสวีเดนก็ขึ้นสู่อันดับหนึ่งในเวลาต่อมาอย่างรวดเร็ว และก้าวขึ้นสู่ Major รายการแรกใน DreamHack Winter 2013 โดยที่ KRIMZ มีการแข่งขันในรอบตัดเชือกระดับเมเจอร์ 12 รายการติดต่อกัน

หลังจากได้รับการยอมรับเรื่องฝีมือ ในฐานะผู้เล่นที่น่าสนใจที่สุดของสวีเดน สำหรับการเลื่อนขึ้นสู่หนึ่งในสองทีมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ เขาและ Olof “⁠olofmeister⁠” Kajbjer ได้รับการยื่นข้อเสนอให้ร่วมทีมกับ fnatic เพียงเจ็ดเดือนหลังจากการเปิดตัวครั้งสำคัญในวงการนี้

พวกเขามาเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับทีม ที่นำโดย Markus “⁠pronax⁠” Wallsten KRIMZ เขาคือผู้เล่นได้รับเลือกให้เป็นโปรเพลเยอร์ที่ดีที่สุดอันดับที่ 9 ของปี 2014 และช่วยให้ทีมสวีเดนกลายเป็นหนึ่งในตัวเต็งเพื่อชิงตำแหน่งทีมที่ดีที่สุดในโลก ในขณะที่พวกเขาคว้าแชมป์สามในสี่รายการของสองเดือนสุดท้ายสำหรับปีนั้น

KRIMZ และทีมอื่นๆ กำลังไล่ล่าถ้วยมาเพิ่มให้กับตัวเองในช่วงปี 2015 หลังจากที่พวกเขาออกจากทัวร์นาเมนต์ที่ได้รับการสนับสนุนโดย Valve อย่าง DreamHack Winter 2014 ซึ่ง fnatic โดนริบแชมป์ของซีรีส์ในรอบรองชนะเลิศกับ LDLC เมื่อจบการแข่งขัน ผู้จัดงานมีการเรียกร้องให้เล่นซ้ำสำหรับแผนที่ที่สามนั่นก็คือ Overpass หลังถูกกล่าวว่าทำผิดกฎการแข่งขัน

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็ไม่อาจหยุดความร้อนแรงของ fnatic ในตอนนั้นเอาไว้ได้ หลังจากนั้นพวกเขาจัดการคว้าความสำเร็จในการแข่งขันต่อไป และก้าวไปสู่แชมป์เมเจอร์แบบแบ็คทูแบ็คทีมแรกด้วยชัยชนะที่ ESL One Katowice และ ESL One Cologne สร้างตำนานความโหดให้จดจำจนถึงทุกวันนี้

fnatic เข้าสู่ปี 2020 อีกครั้งในตำแหน่งทีมระดับหัวกะทิของตารางการแข่งขัน หลังจากการกลับมาของ Maikil “⁠Golden⁠” Selim และ flusha ในช่วงปลายปี 2019 ได้ช่วยให้บัญชีรายชื่อมีเสถียรภาพ และสามารถเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศสามรายการในสี่ทัวร์นาเมนต์

หลังจากช่วงหยุดฤดูหนาวทีมไม่ได้ลงเล่น ICE Challenge และพวกเขาก็ไม่ได้เป็นหนึ่งในทีมพันธมิตรของ BLAST Premier ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นใหม่ ดังนั้นพวกเขาจึงต้องรอจนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์เพื่อเล่นทัวร์นาเมนต์แรกของปีที่ IEM Katowice

เขาเคยติดผู้เล่นที่ดีที่สุดในอันดับที่ 17 ของปี 2019 แต่ครั้งนี้เขาทำผลงานได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยของปีที่แล้วเกือบทุกด้านในปี การฆ่า 0.70 ต่อรอบ การตาย 0.64 ต่อรอบ KAST 71.9% และ 77.3 ADR

16. Henrique “⁠HEN1⁠” Teles
Top 20 Players

ความสม่ำเสมอที่ยอดเยี่ยม และการเล่นที่แข็งแกร่งในจุดสูงสุดของทีมทำให้ Henrique “⁠HEN1⁠” Teles มาอยู่ในอันดับที่ 16 ของปี 2020 ในการจัดอันดับครั้งนี้

Counter-Strike เรียกได้ว่าเป็นชีวิตของ HEN1 เลยก็ว่าได้ เมื่อเขาเริ่มดูพ่อของเขา ชาร์ลส์เล่น CS ตั้งแต่อายุเจ็ดขวบ ตอนที่เขาอายุแปดขวบเขาได้เริ่มลองเล่นมันเป็นครั้งแรก เพราะที่บ้านนั้นมีพีซีเพียงเครื่องเดียว พ่อของเขามิสเตอร์เทเลสจะพาลูกๆ นั่นก็คือ “HEN1”, “⁠LUCAS1⁠” และ “⁠pbf1⁠” ไปเล่นด้วยกันที่ศูนย์การแข่งขันแบบ LAN

ซึ่งลูกชายทั้งสามคนของบ้านนี้คือโปรเพลเยอร์ในปัจจุบันทั้งสิ้น จากนั้นครอบครัวก็เริ่มพาไปแข่งขัน และพัฒนาฝีมือร่วมกันในกิจกรรมท้องถิ่น หลังจากได้รับแรงบันดาลใจจาก mibr และในปี 2554 พวกเขาสามารถคว้าอันดับสามในงานระดับชาติได้

สองปีต่อมาฝาแฝด HEN1 และ LUCAS1 ก็ขึ้นสู่จุดสูงสุดของประเทศบราซิลได้สำเร็จ เมื่อพวกเขาได้เข้าร่วมทีมกับ Fernando “⁠fer⁠” Alvarenga, Gabriel “⁠FalleN⁠” Toledo และ Lincoln “⁠ fnx⁠ ” Lau

แต่ทีมที่สร้างชื่อให้กับเขาจริงๆ คงหนีไม่พ้น Immortals กับการแข่งขันที่ PGL Major Krakow พวกเขาสามารถทะลุไปถึงรอบชิงชนะเลิศได้ และสามารถล้ม BIG และ Virtus.pro แต่ก็ต้องไปแพ้ Gambit ในท้ายที่สุด ผู้คนต่างติดตากับการเล่นสุดหัวร้อนของเขาทั้งทุบเมาส์คีย์บอร์ดเป็นว่าเล่น แต่ฝีมือของเขานั้นคือของจริงอย่างไม่ต้องสงสัย

ปัจจุบันเขาอยู่กับทีมอันดับ 1 ของบราซิลอย่าง FURIA ตัว HEN1 ต้องพลาดการแข่งขันนัดแรกของปี 2020 เนื่องจากความล่าช้าในการต่ออายุวีซ่าของเขา ซึ่งทำให้ FURIA ต้องนำ LUCAS1 เข้าร่วมการแข่งขันรอบคัดเลือก IEM Katowice แทน ซึ่งถือเป็นงาน LAN ที่ยิ่งใหญ่ที่ครั้งสุดท้ายของปี ก่อนที่ไวรัสโคโรนาจะทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนเป็นการแข่งแบบออนไลน์

HEN1 มีค่าเฉลี่ย 1.16 เรตติ้ง ใน 58 แผนที่ สำหรับการเล่นที่อเมริกาเหนือในช่วงนี้ เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัส เขาขาดถ้วยรางวัลจากอีเวนต์ระดับ Elite จึงทำให้เขาอยู่ในอันดับ 16 เท่านั้น ถ้าเขามีถ้วยมากกว่านี้ อันดับของเขาจะพุ่งขึ้นไปอีกจากผลงานสถิติที่ทำได้ปัจจุบัน

15. Ludvig “⁠Brollan⁠” Brolin
Top 20 Players

Ludvig “⁠Brollan⁠” Brolin อยู่ในอันดับที่ 15 ในการจัดอันดับผู้เล่น 20 อันดับแรกของปี 2020 กับผลงานการเล่นอันน่าตื่นตาตื่นใจในรอบตัดเชือกงานใหญ่ของปี

Brollan เข้าสู่วงการ Counter-Strike ตั้งแต่อายุยังน้อย การเริ่มต้นครั้งแรกของเขากับเกมเกิดขึ้นเมื่อเขาอายุเพียงสี่ขวบ เขาเล่นเกมในเซิร์ฟเวอร์ที่สนุกสนานและกับสมาชิกในครอบครัว แต่ประสบการณ์นั้นช่วยให้เขาสร้างรากฐานที่แข็งแกร่ง สำหรับการเปลี่ยนมาเล่น Global Offensive เมื่อตอนเกมเปิดตัว

เขาเริ่มทำสิ่งต่างๆ อย่างจริงจังในปี 2017 ขณะอายุ 15 ปี เขาได้รับการบันทึกสถิติลงใน HLTV.org เป็นครั้งแรกตอนแข่งขันรอบคัดเลือกสำหรับรายการ Yoggi Yala Cup ซึ่งเป็นการแข่งขันภายในประเทศ เขาแข่งขันบ่อยขึ้นในระดับชุมชนจนไต่เต้าไปถึงระดับประเทศในเวลาต่อมา

ตั้งแต่เปิดตัวในเดือนเมษายนจนถึงสิ้นปี 2017 Brollan ได้บันทึกแผนที่ที่เล่นไป 117 รายการ ภายใต้ทีมต่างๆ เช่น Gatekeepers, AWTR และ Passion เขาเล่นกับผู้เล่นที่โดดเด่นหลายคนจาก “เด็กรุ่นใหม่” ของสวีเดน

รวมถึงสมาชิก NIP ทั้งสามคน Hampus “⁠hampus⁠” Poser, Tim “⁠nawwk⁠” Jonasson และ Nicolas ” ⁠Plopski⁠ ” Gonzalez Zamora ก่อนสิ้นปี 2017 Brollan ได้ไปโลดแล่นตามทีมต่างๆ มากมายอย่าง Japaleno, Kindest Regards และ TzatzikiKlubben

การเปลี่ยนเพื่อนร่วมทีมตลอดเวลา ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเขามากนัก ผลงานของเขายังคงสม่ำเสมออยู่ตลอดเวลา เขาได้เรตติ้งเฉลี่ย 1.13 จากการเล่นกับทีมระดับท็อป 50 (37 แผนที่) และเริ่มถูกมองว่าเขานี่แหละคือเด็กอัจฉริยะ

ตอนนี้เขาอยู่กับทีม fnatic ในวัยเพียง 18 ปีเท่านั้น เขามีอัตราการยิงได้ 0.12 ครั้งต่อรอบ (สูงสุดที่ 14) และมีการฆ่ามากกว่าหนึ่งคนอยู่ที่ 18.6% ของรอบที่เขาเล่น (อันดับ 9) ซึ่งรวมกันแล้วจะได้เรตติ้ง 1.18 คะแนน (สูงสุดอันดับที่ 11) เขายังสร้างสถติจำนวนการฆ่า 0.74 ต่อรอบ (มากที่สุด 10) และ 78.4 ดาเมจต่อรอบ (สูงสุดที่ 17)

14. Yuri “⁠yuurih⁠” Santos
Top 20 Players

อีกหนึ่งผู้เล่นของทีมอันดับ 1 แห่งบราซิลอย่าง FURIA เขาคือ Yuri “⁠yuurih⁠” Santos ผู้มีผลงานคงเส้นคงวา และได้มาอยู่ในอันดับที่ 14 ของโลกในตอนนี้กับ Top 20 Players CS:GO 2020

yuurih ปรากฏตัวในการแข่งขันระดับโลกพร้อมๆ กับ Kaike “⁠KSCERATO⁠” Cerato ที่ได้รับอันดับที่ 18 ในการจัดอันดับ HLTV Top 20 นี้ แต่เขาเริ่มสร้างกระแสในวงการแข่งของบราซิลเร็วกว่าเพื่อนร่วมทีม FURIA หลายๆ คน

ในปี 2015 ตอนนั้นเองที่เขาเปลี่ยนจากโปรเพลเยอร์ League of Legends เป็น CS:GO โดยพบว่าในเกม First-Person Shooter ของ Valve เขาสามารถเล่นมันได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อ นอกจากนี้เขายังชอบเล่น Crossfire ซึ่งเป็นเกมที่มีหน้าตาเหมือน Counter-Strike และได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศบราซิล

เขาเริ่มต้นการเล่นแบบจริงจังบนแพลตฟอร์ม FACEIT และรวมทีมที่มีชื่อว่า PRONETS ควบคู่ไปกับผู้เล่นที่เขาเคยพบ ขณะแข่งขันบนแพลตฟอร์มนี้ เช่นเดียวกับคนอื่นๆ ในบราซิลเขายกย่องว่า Gabriel “⁠FalleN⁠” Toledo คือต้นแบบการเล่นของเขา

เขาเฝ้าดูสตรีมของ FalleN อยู่ตลอดเวลา ถึงขนาดว่าใช้การตั้งค่าในเกมแบบเดียวกันและใช้อุปกรณ์แบบเดียวกันในการเล่นเลยทีเดียว เขาสมัครเข้าเรียนในชั้นเรียนของ Gamers Club เพื่อเรียนรู้จาก FalleN ที่ได้เข้ามาแนะนำเด็กรุ่นใหม่ๆ ในคลาสนั้น

ก่อนสิ้นปี 2016 Yuurih และทีมของเขาได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ เช่น Rampage Killers จากนั้นก็คือ Black Dragons และเขาก็ได้รับบทบาทในการลงแข่ง ครั้งแรกของวงการ CS:GO จากลีกอาชีพของ Gamers Club เขาทำเรตติ้งเฉลี่ยของทีมอยู่ที่ 1.23 ในรอบตัดเชือกถือเป็นการเปิดตัวได้ดี

และปัจจุบันที่เขาอยู่กับ FURIA ทีมเริ่มต้นปี 2020 ได้อย่างไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากพวกเขาจบอันดับที่ 7-8 ในรอบคัดเลือกของ IEM Katowice ซึ่งทางทีมต้องใช้ Lucas “⁠LUCAS1⁠” Teles ลงเล่นเป็นตัวจริงแทน HEN1 เนื่องจากความล่าช้าในการต่ออายุวีซ่า

นั่นกลายเป็นทัวร์นาเมนต์ที่แย่ที่สุดของ yuurih ประจำปี 2020 (เรตติ้ง 1.00) แต่เขาก็กลับมาคืนฟอร์มได้ทันทีหลังจากนั้น ด้วยเรตติ้งทีมสูง 1.25 เมื่อ FURIA จบอันดับสองที่ DreamHack Open Anaheim ซึ่งเป็นงาน LAN ครั้งเดียวของพวกเขาในปีนี้

การสร้างความเสียหายใส่ศัตรูตลอดทั้งปีของ yuurih อยู่ที่ (80.1 ADR สูงสุดอันดับ 12) ความสามารถในการเอาชีวิตรอด (0.63 เสียชีวิตต่อรอบ 15 ต่ำสุด) และเปอร์เซ็นต์ของรอบที่มีการฆ่ามากกว่าหนึ่งคน (18.5% ดีที่สุดอันดับ 12)

สถิติเหล่านี้ช่วยอธิบายว่าทำไมเขาถึงจบปีนี้ด้วยเรตติ้งสูงสุดในหลายๆ ทัวร์นาเมนต์ (1.16 สูงสุดเป็นอันดับแปด) นอกจากนี้เขายังสร้างตัวเลขสถิติที่ดีในแมตช์ใหญ่ๆ (เรต 1.14 ใน 17 แผนที่รอบเพลย์ออฟบิ๊กอีเวนต์)

13. Nemanja “⁠huNter-⁠” Kovač
Top 20 Players

การเล่นที่ยอดเยี่ยมในอีเวนต์ระดับ Elite การสร้างความเสียหายที่น่าทึ่ง และความทุ่มเทจนได้รับรางวัลมากมายในช่วงต้นปีทำให้ Nemanja “⁠huNter-⁠” Kovač มาอยู่ในอันดับที่ 13 ของ 20 อันดับผู้เล่นที่ดีที่สุดในโลกกับ Top 20 Players CS:GO 2020

huNter- เริ่มการเดินทางในเกม Counter-Strike ของเขาช่วง CS 1.6 ตั้งแต่ในวัยเด็ก หนุ่มมือปืนชาวบอสเนียไม่มีเวลามากพอ ที่จะไปสนใจเกมที่เพิ่งเปิดตัวใหม่อย่าง CS Global Offensive ซึ่งออกมาในปี 2012 เพราะตอนนั้นเขากำลังตั้งใจเรียนและมีอายุแค่ 16 ปี

แต่หลังจากนั้นไม่กี่ปี และด้วยกำลังใจมากมายจากลูกพี่ลูกน้องของเขา Nikola “⁠NiKo⁠” Kovač เขาก็คือมือปืนที่กำลังเป็นตำนานของวงการในตอนนี้ มันทำให้ huNter- พยายามและเริ่มเล่นมากขึ้นในปี 2015-2016 เขากับเพื่อนร่วมทีมเก่าของเขาจาก CS 1.6 รวมถึง NiKo เอง ตั้งทีมและเอาชนะผ่านรอบคัดเลือกของ The World Championships ในฐานะตัวแทนของบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาไปได้

และพอถึงอายุ 20 ปี เขามีเรตติ้งเฉลี่ย 1.14 ในปีแรกของเขากับวงการ CS: GO หลังจากนั้นเขาได้แข่งขันในทัวร์นาเมนต์และรอบคัดเลือกระดับภูมิภาค รวมถึงระดับนานาชาติหลายรายการและเขาก็ไต่อันดับต่อไปเรื่อยๆ จนมาอยู่กับทีม G2 ในปัจจุบัน

ฤดูกาล 2020 เริ่มต้นในช่วงที่ G2 เล่นรอบคัดเลือกของงาน IEM Katowice เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์จนถึงปีใหม่ หลังจากการแข่งขันที่ยากลำบากสองสามครั้งผ่านไป ทางทีมได้มีการเก็บตัว เพื่อเตรียมความพร้อมและเตรียมแคมป์ที่จะกินเวลายาวนานพอสมควรก่อน BLAST Premier Spring Series และ IEM Katowice ในลอนดอนจะมาถึง

huNter- อยู่ในฟอร์มที่ยอดเยี่ยมเหมือนเช่นเคย ในขณะที่ฝ่ายผู้นำในเกมของทีม nexa ฟอร์มเริ่มแกว่ง แต่ทีมก็ยังทำผลงานได้ดีที่การแข่งขัน BLAST พวกเขากำจัด 100 Thieves และ OG สองครั้งเพื่อเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศฤดูใบไม้ผลิใน IEM Katowice ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พวกเขาผ่านไปสู่รอบชิงชนะเลิศได้สำเร็จ แต่ก็ต้องมาแพ้ Natus Vincere ไปอย่างน่าเสียดาย

เขานั้นมีความโดดเด่นในหลายๆ ด้าน เนื่องจากพลังการยิงอันน่ากลัวของเขา ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายได้อย่างน่าทึ่ง (81.2 ADR, อันดับเจ็ด) สังหารคู่ต่อสู้จำนวนมาก (0.73, อันดับที่ 13) รวมถึงการฆ่ามากกว่าหนึ่งคน ( 18.8% ของรอบนั้นๆ ) ซึ่งช่วยให้มือปืนชาวบอสเนียบันทึกคะแนนเรตติ้งอยู่ที่ 1.18 และมันน่าประทับใจเป็นอย่างมาก (สูงสุดเป็นอันดับที่ 12)

12. Martin “⁠stavn⁠” Lund
Top 20 Players

Martin “⁠stavn⁠” Lund ครองอันดับที่ 12 ใน 20 อันดับแรกของผู้เล่นในปี 2020 หนึ่งในผู้เล่นที่ทำให้ทีม Heroic บินสูงได้ขนานนี้ โดยอันดับของทีมในปัจจุบันคืออันดับที่ 6 ของโลก

ในขณะที่เขายังเด็ก Stavn ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเฝ้าดูพี่ชายของเขาเล่น Counter-Strike หลังจากที่พ่อและเพื่อนในครอบครัวแนะนำให้รู้จักกับเกมนี้ ในที่สุดเขาก็เริ่มเล่นเกมด้วยตัวเอง และคนที่ทำให้เขาเริ่มจริงจังกับเกมนี้มากขึ้นก็คือพี่ของเขา acob “⁠dragonfly⁠” Lund ซึ่งปัจจุบันเป็นหนึ่งในโปรเพลเยอร์ของเกม CS:GO

ทั้งสองสร้างทีมกับเพื่อนๆ ที่เล่นร่วมกันเป็นประจำ และเริ่มเดินทางไปทั่วเดนมาร์กเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันระดับท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศในเวลาต่อมา หลังจากนั้นทีม Fragsters ได้ชวนให้ทั้งสองพี่น้องมาเข้าทีม และนี่เป็นองค์กรแรกที่พี่น้องคู่นี้ลงแข่งอย่างเป็นทางการ ในเดือนตุลาคมปี 2016

Stavn ลงแข่งเวทีต่างๆ ตั้งแต่อายุ 14 ปี เขากลายเป็นหนึ่งในผู้มีผลงานระดับสูง สามารถชนะในการแข่งขันชิงแชมป์เดนมาร์กกับทีม Fragsters ในปี 2017 เขาทำผลงานได้ดีในระดับประเทศและได้รับรางวัล WESG Denmark 2017 มาครอบครอง

ในตอนนี้เขาเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ Heroic อยู่ในอันดับที่ 6 ของโลกด้วยวัยเพียง 18 ปีเท่านั้น Heroic เริ่มต้นในปี 2020 ด้วยการเดินทางไปเล่นที่งาน LAN สองแห่ง นั่นก็คือ DreamHack Open Leipzig และ ICE Challenge ในลอนดอน

เด็กหนุ่มชาวเดนมาร์กเล่นดาร์บี้สองทีม และทีมท้องถิ่นสองทีมที่เยอรมนี โดยแพ้ MAD Lions ในรอบเปิดการแข่งขัน ก่อนที่จะเอาชนะ Sprout และ North เพื่อเข้าถึงรอบตัดเชือก ซึ่งพวกเขาแพ้ให้กับ BIG ในรอบรองชนะเลิศ แต่การแข่งขัน ICE Challenge Heroic มีฟอร์มค่อนข้างแย่เป็นอย่างมาก โดยแพ้ Virtus.pro และเป็นอีกครั้งที่ MAD Lions เอาชนะพวกเขาได้ ผลคือพวกเขาจบลงด้วยอันดับสุดท้ายของการแข่งขัน

Stavn และ Heroic พยายามทำให้สิ่งต่างๆ กลับยอดเยี่ยมอีกครั้ง ในงาน DreamHack Open Fall ครั้งนั้น รอบแบ่งกลุ่มมีการคัดทีมโหดๆ ออกไปอย่างว่องไว Astralis และ G2 ถูกพวกเขากำจัดออกไปได้ ไม่เพียงเท่านั้นพวกเขายังตบ North, Sprout, BIG, NIP และ Astralis ในแมตช์ do-or-die

ในที่สุดพวกเขาก็พุ่งทะยานไปสู่รอบชิงชนะเลิศได้สำเร็จ และเอาชนะ Vitality 3-2 ไปในที่สุด Stavn ได้รับรางวัล EVP เป็นครั้งที่สองของปี ด้วยคะแนนเรตติ้งสูงสุด 1.22 ของทีม ซึ่งเป็นอันดับที่สี่ของการแข่งขันทั้งหมด

Stavn มีความเสียหายที่ทำได้สูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ด้วย 80.4 ADR เป็นตัวสร้างความเสียหายหลักของทีม ด้วยการสังหาร 0.72 ต่อรอบ (สูงสุดที่ 18) และมี KAST สูงกว่าค่าเฉลี่ย (72.1%) และระดับผลกระทบที่ทำได้ต่อเกม (1.11) ผลรวมทั้งหมดนี้ทำให้เขา เป็นผู้เล่นที่มีคะแนนสูงสุดอันดับที่ 14 ของปี (1.13) ในการแข่งขันตลอดทั้งปี

11. Emil “⁠Magisk⁠” Reif
Top 20 Players

แทบจะไม่มีถ้วยไหนในโลกที่เขาและทีม Astralis ไม่เคยได้ และนี่คือ Emil “⁠Magisk⁠” Reif กับการเล่นภายใต้สังกัดทีมอันดับ 1 ของโลก Astralis ปีนี้เขาคว้าอันดับที่ 11 จากการจัดอันดับ 20 ผู้เล่นที่ดีที่สุดในปี 2020 กับ Top 20 Players CS:GO 2020

Counter-Strike เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของ Magisk ตั้งแต่ยังเด็ก เขาเริ่มสนใจเกมนี้เมื่ออายุ 8 ขวบ หลังจากดูลูกพี่ลูกน้องและเพื่อนๆ เล่นด้วยกัน จนถึงในตอนนี้เขาก็ยังไม่มีการลดความสนใจจากมันลงเลยแม้แต่น้อย เขามุ่งมั่นที่จะได้ทำงานในสายอาชีพ Counter-Strike มากที่สุดและเขาใช้เวลาหลายปีต่อมา ในการเล่นเกมและเรียนรู้สิ่งต่างๆ จนถึงปี 2015

เป็นตอนที่เขาเริ่มสร้างกระแสให้กับตัวเองในการแข่งขันที่ประเทศเดนมาร์กกับงาน League of Sharks และ QPAD King of Nordic ร่วมกับผู้เล่นอย่าง Niels-Christian “⁠NaToSaphiX⁠” Sillassen, Valdemar “⁠valde⁠” BjørnVangså และ Rasmus “⁠SandeN⁠” Sanden

Magisk – ผู้ซึ่งลงแข่งภายใต้ชื่อเล่น ‘Magiskb0Y’ ในเวลานั้น เป็นตัวแทนของทีม MTW และ Epiphany Bolt เป็นเวลาสั้นๆ เขามีผลงานที่สะดุดตาใน ESEA pugs งานนั้นเขาได้เล่นร่วมกับ Finn “⁠karrigan⁠” Andersen ผู้นำในเกม หรือ IGL ระดับตำนานของวงการ และ Michael “⁠Friis⁠” Jørgensen ก็อยู่ในการแข่งขันนั้นด้วย

หลังจากนั้นเขาได้เข้าร่วมกับทีม SK ในเดือนตุลาคม 2015 ขณะที่ทีมกำลังค้นหาคนที่จะมาแทน Kristian “⁠k0nfig⁠” Wienecke ตอนแรกเขาเล่นให้กับ SK ในฐานะสแตนด์อิน และกลายเป็นสมาชิกที่มีคุณสมบัติครบถ้วนในอีกสองเดือนต่อมา หลังจากช่วยให้พวกเขาเข้าชิงอันดับสามใน Fragbite Masters Season 5 Finals ซึ่งเป็นงาน LAN ครั้งแรกของเขาต่อมาจากผลงานที่เขาทำได้ Magisk จึงถูกดึงตัวโดยยักษ์ใหญ่ Astralis

คงไม่ต้องพูดถึงผลงานของทีม Astralis มากนักว่ามันสุดยอดขนาดไหน แต่ในช่วงการแข่งขันเปิดทัวร์นาเมนต์ปี 2020 ทีมจบอันดับสุดท้ายของกลุ่มใน BLAST Premier Spring Series ที่ลอนดอน หลังจากการพ่ายแพ้ให้กับ Complexity และ Natus Vincere แต่พวกเขาก็คืนฟอร์มกลับมาได้ทันทีที่ IEM Katowice

ซึ่งพวกเขาได้ก้าวผ่านทีมในกลุ่มเดียวกันได้ทั้งหมด Astralis สามารถเอาชนะ Cloud9, Vitality และ fnatic ด้วยฟอร์มของทีมที่ร้อนแรง อย่างไรก็ตามการเดินทางไปแข่งที่โปแลนด์จบลงด้วยความรู้สึกที่ไม่ดีนัก เพราะพวกเขาต้องมาแพ้ให้กับแชมป์รายการนั้น นั่นก็คือ NaVi

Astralis กลับมาแข่งขันใน ESL Pro League Season 11 พวกเขาเล่นไป 27 แผนที่ ในการก้าวขึ้นสู่อันดับที่สาม ทีมสัญชาติเดนมาร์กผ่านรอบแบ่งกลุ่มที่ทรหดสองรอบ ก่อนที่จะพ่ายแพ้ให้กับ mousesports ในการแข่งขันรอบรองชนะเลิศโดย Magisk ได้รับตำแหน่งหนึ่งใน EVP ประจำทัวร์นาเมนต์ แม้ว่าจะมีเรตติ้งเฉลี่ย 1.13 (ต่ำที่สุดเป็นอันดับสองของทีม) ก็ตาม

และเมื่อฤดูกาลเข้าสู่ช่วงสองสามสัปดาห์สุดท้าย gla1ve กลับมาจากการพัก เขาได้รับหน้าที่ผู้นำในเกมอีกครั้งแทนที่ Magisk ทีมก็เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เขาเป็นผู้เล่นที่ดีที่สุดเป็นอันดับสองของทีมในสองทัวร์นาเมนต์ถัดไป ได้แก่ DreamHack Masters Winter และ BLAST Fall Finals

ทำให้เขาได้รับรายชื่อ EVP ทั้งสองครั้ง เขาเป็นอันดับที่สามในการแข่งขันชิงเหรียญ MVP ของการแข่งขัน DreamHack เมื่อ Astralis ฟื้นตัวจากความพ่ายแพ้ในนัดเปิดสนามได้สำเร็จ และสามารถชนะการแข่งขัน 5 นัดติดต่อกัน ระหว่างเส้นทางสู่การชิงแชมป์ของรายการ BLAST ซึ่ง Astralis จบอันดับที่สอง เขาถูกเสนอชื่อชิง MVP ด้วยตัวเลขสถิติที่โดดเด่น (เรตติ้ง 1.16, 1.17 Impact, 81.1 ADR และ 0.74 Kills ต่อรอบ)

เมื่อมองแวบแรกดูเหมือนว่าตัวเลขสถิติของ Magisk จะไม่โดดเด่นมากนัก เนื่องจากเขาวางตำแหน่งของตัวเองไว้ในหมวด “ผู้เล่นสนับสนุน” เขาอยู่ในอันดับที่ 13 สำหรับการช่วยเหลือต่อรอบ (0.15) อันดับที่เก้าสำหรับการสร้างความเสียหายโดยรวมต่อรอบ (6.9) และอันดับที่สิบสำหรับความเสียหายจากการสนับสนุนต่อรอบ (22.3)

เขาจบการแข่งขัน 8 รายการจากทั้งหมด 11 รายการ โดยมีเรตติ้งเท่ากับหรือสูงกว่า 1.10 ซึ่งหกรายการเป็น EVP นอกจากนี้ เขายังมี KAST ที่มั่นคงคือ 72.2% และไม่ค่อยมีแผนที่ที่ เล่นได้ไม่ดีมากนัก ผลงานค่าเฉลี่ยการเล่นต่อแผนที่คือ 85% นั่นคือสามารถจบการแข่งขันด้วยคะแนนอย่างน้อย 0.85

แต่เพื่อที่จะก้าวเข้าสู่ 10 อันดับแรกของโลก เขาจะต้องมีผลงานมากขึ้นในหลายๆ ด้าน เนื่องจากจุดสูงสุดของเขาไม่น่าประทับใจพอที่จะเข้าร่วมการแข่งขันชิงตำแหน่ง MVP ได้อย่างจริงจังในทัวร์นาเมนต์ต่างๆ ที่ถูกเสนอชื่อ ยิ่งไปกว่านั้นเขาจะต้องมีบทบาทการเล่นที่ดีขึ้นในแมตช์เจอทีมใหญ่ๆ (เขายังมีเรตติ้งเฉลี่ยแค่ 1.08 ในการแข่งขันแบบ Big Event) และเขาเป็นผู้เล่นที่มีเรตติ้ง 1.30+ ซึ่งน้อยที่สุดในบรรดา 20 อันดับแรก คิดเป็นเพียง 21% ของแผนที่ของเขา

เป็นอย่างไรกันบ้างนี่เป็นเพียงแค่อันดับที่ 20 ถึง 11 ของโลกเท่านั้นยังเดือดขนาดนี้ ในบทความครั้งหน้า จะเป็นอันดับที่ 10 ถึงอันดับที่ 1 ของโลก มาติดตามกันว่าความเป็นมาและสถิติต่างๆ ของผู้เล่นระดับ Top 10 จะเป็นอย่างไรกับ Top 20 Players แห่งวงการ CS:GO ปี 2020

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : jamppi ยืนยัน! ตัวของเขากำลังมุ่งสู่วงการ VALORANT แบบเต็มตัว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *